Column Right

บทสรุปของนวัตกรรมการศึกษา


จากการที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมทางการศึกษา ทั้งที่ยังคงมีใช้อยู่ บางอย่างเริ่มสูญหายไป และบางอย่างก็กำลังเกิดขึ้นมา ตามพัฒนาการของเทคโนโลยีในทุกๆแขนง นวัตกรรมทางการศึกษาในแต่ละประเภท ต่างมีจุดเด่น และข้อจำกัดอันเป็นผลจากเทคโนโลยี แต่สิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีอันทันสมัยก็ไม่ใช่กระบวนการจัดการศึกษา ที่ดีที่สุดของการจัดการศึกษายังคงต้องพึ่งพานวัตกรรมในเชิงผสมผสาน ปรับไปตามกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา
หากสรุปให้ถึงแก่นจริงๆแล้วการจัดการศึกษาจะอยู่ภายใต้กระบวนการอยู่ 2 รูปแบบ..... คือ

1.แบบ Live
ลักษณะนี้ทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนต้องร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ณ เวลาจริง หรือ Synchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้(การศึกษา) ที่ต้องมีเงื่อนไขของเวลาเป็นสิ่งสำคัญ อยู่ภายใต้ตารางสอน(เรียน) ปริมาณเนื้อหา ถูกส่งผ่านจากครูสู่ผู้เรียนโดยตรง ตามกรอบของหลักสูตรที่กำหนดไว้

2.แบบ On Demand
ลักษณะเรียนรู้อิสระตามความต้องการตามช่วงเวลาที่เลือก หรือเรียกว่า Asynchronous ครูที่เคยทำหน้าที่สอนจริงๆ จะมาทำหน้าที่ผู้สร้างองค์ความรู้ และหรือผู้ชี้นำ ผู้ให้คำปรึกษา หรือครูที่ปรึกษาหลักสูตร เนื้อหาจะถูกส่งผ่านสื่อ หรือช่องทาง ถึงผู้เรียน ซึ่งตัวผู้เรียนสามารถควบคุมปริมาณเนื้อหา เลือกช่วงเวลาที่พร้อมที่จะรับรู้ ในการเรียนรู้ระบบ on demand อาจจะอยู่ในลักษณะที่ผู้จัดการเนื้อหา ส่งเนื้อหาผ่านสื่อ ผ่านช่องทางให้ผู้เรียน ทีละน้อย เป็นช่วงเวลา ผู้เรียนสามารถรับรู้ในเวลานั้น หรือจะจัดเก็บก่อนแล้วมาเรียนรู้ในภายหลัง ตัวอย่างของวิธีการนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือวิธีการส่งข้อมูลการเรียนรู้ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

แต่ในสภาพจริงที่เป็นอยู่ นวัตกกรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นมาในแต่ละชนิด หรือแต่ละวิธีการนั้นอาจจะมีรูปแบบที่ใช้เงื่อนไขกระบวนการใด กระบวนการหนึ่ง หรือมีทั้งแบบผสมผสานเพื่อรองรับ ช่วงเวลา โอกาส เงื่อนไข ตัวแปร ความพร้อม หรือความสามารถในการเข้าถึงที่จะเรียนรู้ แต่การศึกาาจะมีผลสมบูรณ์ได้นั้น ยังต้องขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ นั่นคือ ผู้สร้างองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบรรยากาศของการเรียนรู้ในมิติของชีวิตจริงในเวลานั้น(Face to face) ที่ยังคงใช้ห้องเรียนเป็นหลัก หรือเป็นผู้วางสาระเนื้อหาพร้อมปัจจัยการเรียนรู้ผ่านสื่อ ผ่านช่องทางหรือวิธีการต่างๆ ผู้สร้างองค์ความรู้ผู้นั้น ก็คือ สิ่งที่เราเรียก หรือ เคยเรียก ว่า ครู นั่นเอง

ที่สำคัญคือการสร้างความรู้ ให้ผุ้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้มีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลดช่องว่างของความสับสนในเรื่องของนวัตกรรมทางการศึกษา สามารถแยกแยะความหมายของ ระบบและวิธีการเรียนรู้ (Systems approach to learning) กับสื่อการเรียนรู้ (Media for learning) ให้ชัดเจน เมื่อถึงเวลานั้น การสร้างสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน หรือการพัฒนากระบวนการ ระบบ หรือวิธีการเรียนรู้ ในภาพรวมก็จะมีกรอบ มีทิศทาง นำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget