Column Right

หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง : Learning Object

Learning Object หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า LO (แอล โอ) LO นี้ นับเป็นอีกขั้นของการปฎิวัติของการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้  แต่เดิมการสร้างสื่อเพื่อใช้ในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตาม ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการพัฒนาค่อนข้างยาวนาน ส่งผลให้ผู้ที่สร้างหรือคิดจะสร้างต้องเลิกล้มโครงการ ดังนั้นหากได้มีการออกแบบจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ ที่มีเนื้อหาการเรียนรู้เฉพาะ สาระเล็กๆหรือเป็นเรื่องย่อยๆ  สั้นๆ ก็จะเป็นส่วนให้การสร้างสื่อแบบนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่าย และใช้เวลาไม่นาน การออกแบบก็จะทำเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยจะนำเสนอเฉพาะแก่นของเรื่องย่อยๆ เท่านั้น

ที่สำคัญ มาตรฐานของ LO หากผู้สร้างพัฒนาภายใต้กรอบภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน หรือยึดตามมาตรฐาน SCORM ก็จะทำให้ LO ที่สร้างในหลายๆชิ้น นำมาต่อ หรือ จัดลำดับ เนื้อหาใหม่ เพิ่มรวมเป็นหลักสูตร ขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สำหรับชื่อของ Learning Object หรือ LO มีผู้ให้ความหมายเป็นภาษาไทยไว้ว่า "หน่วยการสอนขนาดเล็ก" หรือ "แหล่งทรัพยากรขนาดเล็ก"ซึ่งในหลักสูตรนี้ จะเรียก Learning Object นี้ว่า หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง

ความหมายของ.Learning Object
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายทางวิชาการ คำว่า Learning Object ไว้หลายความหมาย อาทิ

กิดานันท์ มลิทอง (2548) อ้างถึงใน ศยามน อินสะอาด (2550) learning object เป็นหน่วยการสอนขนาดเล็กที่ใช้ใน e-Learning ที่มีเนื้อหาเป็นอิสระภายในตัวเอง learning object แต่ละหน่วยจะมีส่วนประกอบของไฟล์ดิจิตอลรูปแบบต่างๆ รวมกันอยู่ในหน่วยนั้น ผู้ใช้สามารถนำแต่ละหน่วย มาใช้ร่วมกัน เพื่อเป็นบทเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือใช้ซ้ำในเรื่องอื่นๆ ได้อีกอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2548) learning object ในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง เนื้อหาสาระของความรู้หรือบทเรียน ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อความ ภาพ หรือ เสียงที่มีขนาดพอเหมาะ สร้างตามมาตรฐานสากลและนำเสนอเผยแพร่ออนไลน์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท., 2548) ให้คำจำกัดความของ learning object ไว้ว่าเป็นสื่อดิจิตอลประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นสื่อประสม (multimedia) ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่องจะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ learning object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้ อย่างหลากหลาย ความแตกต่างของ learning object กับ สื่อดิจิตอลอื่นๆ ตรงที่เนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะได้รับ เนื่องจากสื่อชนิดนี้ “เน้นกระบวนการเรียนรู้”

สติยา ลังการ์พินธุ์ (2548) learning object ซึ่งเป็นสื่อที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียน เรียนรู้แนวคิดหลักอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะสามารถจัดเก็บ และค้นหาในระบบดิจิตอลได้โดยสะดวก ครูสามารถนำไปใช้ซ้ำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ในลักษณะ
เดียวกับตัวต่อเลโก้ที่สามารถใช้ประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ และสามารถแยกชิ้นส่วน แล้วนำตัวต่อชิ้นเดิม ไปสร้างเป็นรูปร่างใหม่ขึ้นมาได้

อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี (2549) ได้ให้ความหมายของ learning object ว่าหมายถึง สื่อดิจิตอลที่ได้รับการออกแบบ มาเพื่อใช้สนับสนุนการเรียนรู้ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หน่วยของเนื้อหา (ดิจิตอล) ที่ได้รับการออกแบบ ตามแนวคิดใหม่ จากหน่วยขนาดใหญ่เป็นหน่วยขนาดเล็กหลายหน่วย (smaller units of learning) หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (learning object) มีเนื้อหาสมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained) เป็นอิสระจากกัน หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (learning object) สามารถนำไปใช้ซ้ำ (reusable) ได้ในหลาย โอกาส (หลายบทเรียน หลายวิชา) หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (learning object) สามารถนำมาเชื่อมโยงกัน เป็นหน่วยเนื้อหา ขนาดใหญ่ขึ้น ตามลำดับ (can be aggregated) จนเป็นรายวิชาหรือหลักสูตร สามารถกำหนดข้อมูลอธิบายหน่วยเนื้อหา แต่ละหน่วย (tagged with metadata) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา

คณะกรรมการมาตรฐานเทคโนโลยีการศึกษาของ IEEE (The IEEE’s Learning Technolearning objectgy Standards Committee) อ้างถึงใน ศยามน อินสะอาด (2550) ได้ให้คำจำกัดความของ “learning object” ไว้ว่า เป็นหนทางที่นำไปสู่การเป็นมาตรฐานในระดับชาติ (LTSC, 2000) เป็นสิ่งที่อยู่ในรูปของดิจิตอล หรือไม่ใช่ดิจิตอลสามารถถูกใช้นำมาใช้ใหม่ได้ หรือถูกนำมาอ้างในระหว่างการสนับสนุนการเรียนที่ใช้เทคโนโลยี ที่ขยายออกไปยังต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

David A. Wiley (2000) อ้างถึงใน ศยามน อินสะอาด (2550) ให้คำจำกัดความของ “learning object” ว่าเป็น แหล่งทรัพยากรดิจิตอล” ที่สามารถนำมาใช้ใหม่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ คำจำกัดความนี้ได้รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่สามารถส่งผ่านเน็ตเวิร์ก (network on demand) ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ยกตัวอย่างของการนำมาใช้ทรัพยากรดิจิตอลที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ ภาพ ข้อมูล (live data feeds) วิดีโอ เสียงถ่ายทอดสด แอนนิเมชั่น ข้อความ และการใช้/ส่งผ่านเว็บแบบขนาดเล็ก Java calculator

ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
1. สภาพเป็นสื่อขนาดเล็กจึงสะดวกต่อการ จัดเก็บ แจกจ่าย และค้นหา
2. สามารถนำกลับมาใช้ นำกลับมาทบทวน หรือนำมาประกอบเป็นสาระเนื้อหาในวิชาใหม่ได้
3. สามารถนำสื่อ LO มาจัดวางลำดับ การนำเสนอ การเรียนรู้ นำไปสู่ความหลากหลาย เป็นส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจ
4. เป็นสื่อที่มีกระบวนการจบหรือเสร็จสิ้นในตัวเอง

ประเภทของ Learning Object
หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง (Learning object) ที่นิยมสร้าง จะมีทั้งแบบเรียบง่าย ที่อยู่ในรูปของไฟล์เอกสาร ขนาดสั้นประมาณ 1 หน้าเอกสาร หรือเป็นแบบเอกสารเว็บ ที่เผยแพร่ทั้งแบบ offline และ online องค์ประกอบหลักของสื่อในลักษณะนี้ จะมีตัวอักษรเป็นส่วนหลักในการให้การเรียนรู้ มีภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว เป็นส่วนขยายความ อีกปรพเภท จะเป็นสื่อที่อยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลมัลติมีเดียหรือ นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวสำเร็จรูป ที่เป็นทั้งไฟล์ที่ตอบสนองการเรียนรู้ด้วยตัวมันเอง ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์นามสกุล .gif, .swf, .mov .avi และ .wmv ส่วนไฟล์ประเภท .mpeg อาจจะมีบ้างเนื่องจากไฟล์ .mpeg จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่


โดยสรุปประเภทของ learning object จะมี 3 ประเภท
1. สื่อหรือไฟล์ข้อมูลที่แสดงในลักษณะเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอกสารเว็บ 
2. สื่อหรือไฟล์ข้อมูลที่แสดงภาพแบบต่อเนื่อง มีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นสภาพการทำงาน หรือเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
3. สื่อหรือไฟล์ข้อมูลที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำงานของตัว LO (จากตัวอย่างให้ท่านลากชิ้นส่วน อุปกรณ์ไฟฟ้า ไปวางบนวงจร แล้วทำกิจกรรมตามคำสั่ง) 

องค์ประกอบและการพัฒนา
ในส่วนขององค์ประกอบของ LO โดยที่ลักษณะเฉพาะของ LO เป็นหน่วยความรู้เฉพาะเรื่องขนาดสั้นๆ ที่สามารถ ให้สาระเนื้อหา ให้การเรียนรู้ อธิบายความหมาย ได้ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้นองค์ประกอบของตัวสื่อ LO จึงขึ้นอยู่กับ การออกแบบ และจุดประสงค์ในการสื่อสารกับผู้เรียน เป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นในองค์ประกอบของตัว LO แต่ละตัวอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้

 LO ที่ เน้นอธิบายด้วยตัวอักษร มีสื่ออื่นประกอบ (ภาพ/กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือ วิดีโอ)


 LO ที่แสดงถึงกระบวนการ ลำดับขั้นตอน โดยมีสื่ออื่นประกอบ (ภาพ/กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือ วิดีโอ)


 LO ที่ออกแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับตัวสื่อ อาทิ ควบคุมลำดับขั้นการเรียนรู้ มี interactive มีการให้ผลย้อนกลับ

วิธีการเรียนรู้
เนื่องจาก LO เป็นหน่วยความรู้ขนาดเล็ก ที่มีจุดมุ่งหมายในการ ให้ความรู้เฉพาะเรื่อง เล็กๆ สั้นๆ ดังนั้นการนำ LO มาจัดการเรียนรู้ ผู้จัดการศึกษาจะต้องพิจารณาถึง
1. ความเหมาะสม ต่อการเรียนรู้ของการใช้งาน
2. ความพร้อมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์
3. ความพร้อมของผู้เรียน
นอกจากนี้ในสถานศึกษาบางแห่ง มี LO ในแต่ละวิชา มีเป็นจำนวนมาก ครูผู้สอน สามารถนำ LO เหล่านี้ มาร้อยเรียง ผูกติดเรียงลำดับ เป็นเรื่องราบเพื่อใช้เป็นกระบวนการสำคัญของการสอนได้อีกด้วย
LO ในเส้นทางของสื่อการเรียนรู้เฉพาะเรื่องขนาดเล็กนี้ จะยังมีช่องทางการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยี Software ด้วยเทคโนโลยีของ HTML ที่ก้าวเข้าสู่ยุคที่ 5 เป็นส่วนที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนที่มีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างสรรงาน LO ได้รวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้นกว่ารูปแบบหรือระบบดั้งเดิม และหากสถานศึกษา ได้รวมตัวกัน ร่วมมือกันพัฒนา ก็จะช่วยให้สื่อการศึกษา มีการพัฒนา ก้าวไกล ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง Learning Object เพิ่มเติม




Tools for creating learning objects
Software/ToolDetails
SnagIt (free 30 day trial)
  • screen capture and recording
PowToon (free version)
  • create animated presentations
Screencastify (free)
  • Chrome extension
  • screen and webcam recording
Screencast-O-Matic (free version)
  • screen and webcam recorder
Jing (free; software centre)
  • basic tool for short videos
Canva (free version)
  • graphic pg for creating  visual materials
Piktochart (free version)
  • create infographics
Sway (Office 365)
  •  interactive presentation tool
LibWizard 
  • guide on the side tutorials

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget