Column Right

สื่อวิดีทัศน์และรายการโทรทัศน์

รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และสื่อวิดีทัศน์ (Educational Television - Video)
 
รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ถือเป็นนวัตกรรมในเชิงระบบ ส่วนสื่อวิดีทัศน์เป็นนวัตกรรมในเชิงสื่อ หากมองภาพรวมโดยไม่นำเอากระบวนการออกอากาศ มาร่วมด้วยแล้ว ทั้งสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เมื่อดูที่ขั้นตอนภาพรวมแล้ว จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความละเอียดของกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้การเรียนรู้เนื้อหาที่สมบูรณ์ ในบทเรียนนี้ จะได้เรียนรู้ถึงลักษณะ ความหมายของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และหลักการพัฒนาสื่อสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

ประเภทของรายการโทรทัศน์
รายการโทรทัศน์ ถ้าจะจำแนกรูปลักษณ์การนำเสนอโดยละเอียดแล้ว สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท
  1. รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television : CTV)
    เป็นรายการที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งสถานีส่งโทรทัศน์ส่วนใหญ่ จัดได้ว่า เป็นโทรทัศน์เพื่อการค้า รายการที่นำเสนอก็เป็นด้าน บันเทิง และธุรกิจการค้า การโฆษณา
  2. รายการโทรทัศน์การศึกษา (Education Television : ETV)
    เป็นรายการที่นำเสนอเพื่อความรู้ทั่วๆ ไป เช่น ความรู้ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ศาสนา ขนบประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการโฆษณาอยู่บ้างในกรณีที่มีผู้สนับสนุนรายการ
  3. รายการโทรทัศน์การสอน (Instructional Television : ITV)
    เป็นรายการทวี่นำเสนอ เพื่อการเรียนการสอนโดยตรง ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ซึ่งการแพร่สัญญาณ ก็อาจจะเป็นได้ทั้งระบบวงจรปิด (Close - Circuit Television) คือ ส่งสัญญาณตามสาย ไปยังเครื่องรับหลายๆ เครื่องในสถาบันการศึกษานั้น ๆ หรือเป็นระบบวงจรเปิด (Open - Circuit Television) ที่ส่งสัญญาณออกอากาศไปยังผู้รับไปสถานศึกษาที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ  ในลักษณะของการสอนทางไกล หรือการประชุมทางไกล (Video Conferencing) หรืออาจจะเป็นการออกอากาศ ตามตารางปกติในรายวิชาที่สอน เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ออกรายการ ETV ที่ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ หรือ รายการของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งใช้ไทยคม ออกอากาศ ETV ของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
http://www.edu.nu.ac.th/taworn/index2.html








รูปแบบของรายการโทรทัศน์และสื่อวิดีทัศน์

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และนิคม ทาแดง (2528, 731-736) ได้จัดรูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาไว้ 12 รูปแบบซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


  1. รูปแบบพูดคนเดียว (Monologue)
    เป็นรายการที่ผู้ปรากฏตัวพูดคุยกับผู้ชมเพียงหนึ่งคน ส่วนมากจะมีภาพประกอบเพื่อมิให้เห็นหน้าผู้พูดอยู่ตลอดเวลา
  2. รูปแบบสนทนา (Dialogue)
    เป็นรายการที่มีคนมาพูดคุยกันสองคน ทั้งสองคนมีผู้ถามและคู่สนทนาแสดงความคิดเห็นที่นำเสนอทั้งคู่ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนทนาจะมีคน 2-3 คนก็ได้
  3. รูปแบบอภิปราย (Discussion)
    เป็นรายการที่ผู้ดำเนินรายการอภิปรายหนึ่งคนป้อนประเด็นคำถามให้ผู้ร่วมอภิปรายตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 4 คน ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงความคิดเห็นของตนเองต่อประเด็นต่างๆ
  4. รูปแบบสัมภาษณ์ (Interview)
    เป็นรายการที่มีผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ คือ วิทยากรและพิธีกรมาสนทนากัน 
  5. รูปแบบเกมหรือตอบปัญหา (Quiz Programmed)
    เป็นรายการที่จัดให้มีการแข่งขันระหว่างคนหรือกลุ่มของผู้ที่มาร่วมรายการด้วยการเล่นเกมหรือตอบปัญหา 
  6. รูปแบบสารคดี (Documentary Programmed)
    เป็นรายการที่เสนอเนื้อหาด้วยภาพและเสียงบรรยายตลอดรายการโดยไม่มีพิธีการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    6.1 สารคดีเต็มรูป เป็นการดำเนินเรื่องด้วยภาพและเนื้อหาตลอดรายการ
    6.2 กึ่งสารคดีกึ่งพูดคนเดียว (Semi Documentary) เป็นรายการที่มีผู้ดำเนินรายการทำหน้าที่เดินเรื่องพูดคุยกับผู้ชมและให้เสียงบรรยายตลอดรายการ นอกนั้นเป็นภาพแสดงเรื่องราวต่างๆ
  7. รูปแบบละคร (Dramatically style)
    เป็นรายการที่เสนอเรื่องราวด้วยการจำลองสถานการณ์ เป็นละครที่มีการกำหนดผู้แสดง จัดสร้างแสง การแต่งตัว และแต่งหน้าให้สมจริงสมจัง และใช้เทคนิคการละครเพื่อเสนอเรื่องราวให้เหมือนจริงมากที่สุด
  8. รูปแบบสารละคร (Docu – Drama) .
    เป็นรายการที่ผสมผสานรูปแบบสารคดีเข้ากับรูปแบบละครหรือการนำละครมาประกอบรายการที่เสนอเนื้อหาบางส่วน มิใช่เสนอเป็นละครทั้งรายการ เพื่อให้การศึกษาความรู้และแนวคิด 
  9. รูปแบบสาธิต (Demonstration).
    เป็นรายการที่เสนอวิธีการทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้ชมได้แนวทางไปใช้ทำจริง
  10. รูปแบบเพลงและดนตรี (Song and Music).
    รูปแบบเพลงและดนตรี มี 3 ลักษณะ
    10.1 มีดนตรี นักร้องมาแสดงสด
    10.2 ให้นักร้องมาร้องควบคู่ไปกับเสียงดนตรีที่บันทึกมาแล้ว
    10.3 ให้นักร้องและนักดนตรีมาแสดง แต่ใช้เสียงที่บันทึกมาแล้ว
  11. รูปแบบการถ่ายทอดสด (Live Programmed).
    เป็นรายการที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น
  12. รูปแบบนิตยสาร (Magazine Programmed) .
    เป็นรายการที่เสนอรายการหลายประเด็น และหลายรูปแบบในรายการเดียวกัน
รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา



ความหมายของโทรทัศน์การศึกษา ( Educational Television )
โทรทัศน์เป็นการส่งภาพและเสียงจากสถานีส่งไปยังผู้รับ ซึ่งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กัน เมื่อนำโทรทัศน์มาใช้ทางการศึกษาหรือในการเรียนการสอน เราจึงเรียนเป็นโทรทัศน์การศึกษา ซึ่งรายการที่นำเสนออาจจะเป็นรายการเพื่อการสอนโดยตรง หรือรายการที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป
บทบาทและความสำคัญของโทรทัศน์มีมากมายเหลือเกิน เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสถาบัน ในหน่วยงาน จะรู้สึกดูดีไม่น้อย หากได้บันทึกไว้ด้วยโทรทัศน์ เพราะโทรทัศน์เราได้ภาพที่เคลื่อนไหว สมจริง และถ่ายทอดเหตุการณ์ได้ทันทีทันใด

ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีการสื่อกสารได้ถูกนำมาใช้ในกระบวยการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย มีการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) มีการใช้สื่อผสมที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น มัลติมีเดีย (Multimedia) โทรทัศน์ก็ยังมีบทบาทไม่ด้อยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนผ่านเครือข่าย (Web Based Instruction : WBI)  หรือ e - Learning ที่นิยมอยู่ก็ยังต้องใช้โทรทัศน์ อยู่นั่นเอง

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา

ข้อดี
  1. สามารถใช้โทรทัศน์ได้ในสภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีจำนวนมาก และผู้สอนมีจำนวนจำกัด ทั้งนี้เพราะสามารถแพร่ภาพและเสียงไปตามห้องเรียนต่างๆ และผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านได้
  2. เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้ โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อประสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
  3. เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนได้ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความสามารถพิเศษในแต่ละแขนงวิชา มาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์ได้
  4. สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้นได้ โดยเทคนิคการถ่ายใกล้เพื่อขยายภาพหรือวัสดุ ให้ผู้เรียนเห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
  5. ช่วยปรับปรุงเทคนิคการสอนของครูประจำและครูฝึกสอน เช่น ในการสอนแบบจุลภาค
  6. เป็นสื่อที่สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม


ข้อจำกัด
  1. การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
  2. โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนอย่างสิ้นเชิง ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆประกอบด้วย
  3. อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
  4. การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ ทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
  5. จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทำและใช้เทคนิควิธ๊การในการผลิตรายการที่มีคุภาพ
ที่มา : ดร.กิรนันท์ มลิทอง


หน่วยงานที่ผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษาในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหน่วยงานทางด้านการศึกษาที่ดำเนินการผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการให้แก่กลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน และกลุ่มเป้าหมายนอกโรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีลักษณะรายการโทรทัศน์ที่ผลิตแยกตามลักษณะการจัดการศึกษา ดังนี้

  1. รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร
    ดำเนินการตั้งแต่วางแผนการจัด ผลิต สรรหา ศึกษา วิเคราะห์ ทดลองต้นแบบรายการ พัฒนารายการโทรทัศน์ และวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาพร้อมสื่อประกอบตามหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน สำหรับบริการนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งการผลิต และพัฒนารายการ โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ เพื่อการศึกษา เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตรสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนพิการ พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการด้วย
  2. รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย
    ดำเนินการจัดผลิต และพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น กลุ่มคนพิการ พระ นักโทษ ชาวเขา เป็นต้น รวมทั้งจัดและผลิตรายการพิเศษเพื่อให้บริการการศึกษาแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  3. รายการข่าวเพื่อการศึกษา
    เป็นการจัดสรุปข่าวในรอบสัปดาห์ และจัดทำสารคดีสั้นเชิงข่าว หรือรายการพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาบริการกลุ่มเป้าหมายในระบบโรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และประชาชนทั่วไป

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษา ของสถาบันในทุกวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
อ้างอิง : http://www.ceted.org/ceted2010/ed_tv-institute.php

    สื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา


    ความหมายของสื่อวิดีทัศน์
    วีดิทัศน์เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วีดิทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว และสร้างความต่อเนื่องของการกระทำของวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์

    การผลิตวีดิทัศน์ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและครูเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ขั้นตอนการผลิตนั้นเหมือนกับการผลิตรายการวีดิทัศน์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้ การสอน รายการวีดิทัศน์ ที่มีคุณภาพนั้นต้องสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ตั้งเอาไว้

    ความหมายของสื่อวิดีทัศน์(ดั้งเดิม)
    คำว่า“วีดิทัศน์” มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า“Video Tape” ซึ่งมีความหมายว่า แถบบันทึกวีดิทัศน์ แถบบันทึกภาพ เทปบันทึกภาพ เทปวีดิทัศน์ ซึงแต่เดิมคำว่าVideo เป็นภาษาลาติน แปลว่า“I see = ฉันเห็น” เมื่อมาเป็นภาษาไทยกใช้คำว่า“ภาพ”
    ต่อมาในปี พ่.ศ.2525 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แนะนำให้ใช้ คำว่า“ภาพทัศน์” โดยอาศัยบัญญัติคำใกล้เคียงกับภาพยนตร์ คำนี้ปรากฏในเอกสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2530 ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติคำว่า“วีดิทัศน์” แทนคำว่า Video คำว่า วีดิ มาจากคำว่า วิติ ซึ่งแปลว่ารื่นรมย์ หรือชวนให้รื่นรมย์ จึงทำให้ใช้คำว่าวีดิทัศน์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2540)



    กิดานันท์ มลิทอง (2536) ได้กล่าวว่าวีดิทัศน์ (Video Tape) ซึ่งตามปกติเรามักเรียกทับศัพท์ว่า“วีดิโอเทป” เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญที่สามารถใช้ในการบันทึกภาพ และเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลืนแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้


    รสริน พิมลบรรยงก์(2536) ได้อธิบายว่า วีดิทัศน์ คือ เทปที่ใช้บันทึกภาพ และเสียงไว้ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ หรือบันทึกซ้ำได้


    วชิระ อินทร์อุดม (2539) ให้ความหมายวีดิทัศน์ว่า เป็นวัสดุที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงได้ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการทางแสงเสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสามารถบันทึกและเปิดให้ชมได้ทันที โดยอาศัยเครื่องเล่นบันทึกวีดิทัศน์ ซึ่งสามารถบันทึกและลบสัญญาณภาพและเสียงได้


    ประทิน คล้ายนาค (2545) ให้ความหมายของวีดิทัศน์ในทางเทคนิคว่า เป็นการใช้กล้องอิเล็กทรอนิกส์ ถ่ายภาพเคลื่อนไหว พร้อมกับเสียงแล้วส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปออกที่จอโทรทัศน์


    คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า Video เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกับ Television ซึ่งมีคำไทยใช้ว่า โทรทัศน์ แล้ว สมควรคิดหาคำไทยใช้กับ Video ด้วยโดยคำที่จะ คิดขึ้นนี้ควรจะมีคำว่า “ทัศน์” ประกอบอยู่ด้วย เพื่อให้เข้าชุดกัน   และควรหาคำที่จะมีเสียงใกล้เคียงกับ คำทับศัพท์ที่นิยมใช้กันอยู่แล้วซึ่งจะทำให้มีการยอมรับศัพท์ที่คิดขึ้นได้ง่าย
    (วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี)


    จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ คือ วีดิทัศน์ หมายถึง แถบวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป็นแถบเคลือบแม่เหล็กสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้หลายมิติ เช่น ภาพ และเสียง ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถตัดต่อ เพิมเติม ลบข้อมูลภาพและเสียงออกได้ โดยมีอุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูลสัญญาณภาพและเสียง ที่เรียกว่า เครื่องเล่นวิดีทัศน์

    ลักษณะความหมายของสื่อวิดีทัศน์ใหม่
    ปัจจุบัน วิดีทัศน์ที่อยู่ในรูปของเส้นเทปเคลือบสารแม่เหล็ก ในฝั่งผู้ใช้งานทั่วไป  แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีของกระบวนการบันทึกและการอ่านสัญญาณวิดีทัศน์ได้แปรเปลี่ยนจากการบันทึกลงบนเส้นแม่เหล็ก เป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีเชิงแสงกันเกือบทั้งหมด โดยการเล่นผ่านเครื่องเล่น VCD, DVD BlueRay ส่งสัญญาณภาพและเสียงให้ได้เห็นและได้ยินอย่างสมบูรณ์ ผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียประเภท LCD LED หรือ Plasma เป็นต้น

    ฝั่งการผลิต ยังคงมีเทคโนโลยีเส้นเทปอยู่แต่จะมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกโดยเคลือบสารแม่เหล็กพิเศษ นอกจากนี้มี อีก 2 เทคโนโลยี ที่นำมาใช้งานร่วมด้วย ได้แก่ หน่วยเก็บบันทึกบนจานแม่เหล็ก : harddisk และหน่วยบันทึกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ SSD : Solid State Disc(Drive) เข้ามาใช้งาน


    ลักษณะเฉพาะของวีดิทัศน์
    1. เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และฟังเสียง
    2. มีความคงที่ของเนื้อหา
    3. เสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ
    4. ใช้ได้ทั้งผู้ชมทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
    5. เสนอได้ทั้งภาพจริงและกราฟิกต่างๆ
    6. สามารถเก็บเป็นข้อมูลและนำมาเผยแพร่ได้หลายครั้ง

    ประเภทของรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
    รายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาตามลักษณะของรายการไม่แตกต่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
    1. รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Education Television : ETV)
      รายการประเภทนี้มุ่งส่งเสริมการให้ความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ แก่ผู้ชม เช่น สารคดี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น
    2. รายการโทรทัศน์เพื่อการสอน (Instruction Television ITV)
      รายการประเภทนี้เน้น ในเรื่องการเรียนการสอนแก่กลุ่มผู้ชมบางกลุ่มโดยตรง ใช้ได้ทั้งการสอนเนื้อหาทั้งหมดเป็นหลัก และการสอนเสริม มักจะเป็นรายการที่ครอบคลุมกระบวนการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ ตั้งแต่วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผล ใช้ได้ทั้งภายในสถานศึกษาโดยตรง หรือการศึกษาระบบเปิด เช่น รายการสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


    วิธีการเรียนรู้
    จากการศึกษารายละเอียดของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและสื่อบทเรียนวีดิทัศน์ ที่ผ่านมา พอจะเห็นว่า เป็นระบบและสื่อที่ให้ความน่าสนใจกับผู้เรียนได้ดี สามารถตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ยาวนาน ด้วยจุดเด่นความพร้อม ของภาพและเสียง จึงเป็นระบบและสื่อที่มีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในหลากหลายด้าน ซึ่งนักการศึกษาได้กล่าวถึง ประโยชน์ของวีดิทัศน์ และบทเรียนวีดิทัศน์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้ คือ
    1. มีประสิทธิภาพการในการสื่อสารสูง มีทั้งภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน
    2. สามารถต่อขยายให้ผู้เรียนดูครั้งละหลาย ๆ คนได้กล่าวคือ สามารถให้ดูได้ครั้งละมากถึงเป็นพัน ๆ คนได้
    3. สามารถหยุดดูภาพนิ่งบางจุดหรือดูซ้ำอีกหรือดูภาพช้าได้โดยไม่ทำให้เนื้อเรื่องเสียไป
    4. ใช้ประกอบการเรียน ซ่อมเสริม รายบุคคลหรือรายกลุ่มคนโดยใช้ได้ทั้งผู้ที่เรียนช้าหรือผู้ที่เรียนเร็ว โดยให้เรียนไปตามความสามารถของบุคคลได้
    5. ใช้ในการฝึกทักษะการแสดงหรือการสอนของครูได้
    6. สามารถแพร่ภาพและเสียงหรือนำเอาเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือเรื่องราวที่อยู่ไกล ๆ มาให้ชมได้
    7. แสดงการสาธิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่ต้องการเน้นโดยใช้เทคนิคการถ่ายใกล้ (Close up) หรือขยายภาพหรือสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
    8. โทรทัศน์ดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี เด็กเรียนด้วยความพอใจและมีเจตคติที่ดีต่อโทรทัศน์
      (คณาจารย์ภาควิชาโสตทัศนศึกษา รามคำแหง 2532, 116;ไพโรจน์ ตีรณธากุล และนิพนธ์ ศุภศรี 2528, 3)
    ดังนั้นเราจึงพอสรุปถึงจุดเด่นของวีดิทัศน์ที่ให้คุณค่าในด้านการศึกษาและการเรียนการสอนได้ดังนี้
    1. สามารถเป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การทดลอง การสาธิต นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนเรียนได้เป็นจำนวนมาก
    2. สามารถนำเอาสิ่งที่อยู่ไกลตัวผู้เรียนมาสู่ผู้เรียนได้ง่าย เช่น เมื่อพูดถึงเหมืองแร่ ก็อาจจะไปถ่ายเหมืองแร่มาให้ชม แทนที่จะบรรยายด้วยปากเปล่าอย่างเดียว
    3. เทคนิคทางภาพพิเศษจะช่วยให้การผลิตบทเรียนวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    4. เทปวีดิทัศน์เป็นสื่อในการสร้างค่านิยม ทัศนคติได้เป็นอย่างดี เพราะภาพเสียงและการแสดงที่ออกมาย่อมเข้าถึงใจคนได้ง่ายกว่าเรื่องอย่างอื่น
      (วสันต์ อติศัพท์ 2533, 13-14)
    การผลิตรายการข่าวโทรทัศน์

    <

    1 ความคิดเห็น:

    1. ช่วยทำให้เข้าใจสื่อวิดิทัศน์มากขึ้น และตรวจสอบว่าทำมาถูกทางแล้ว ขอบคุณมากคะ

      ตอบลบ

    Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

    ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

    หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

    new story

    Recent Posts Widget